4. หน้าที่และชนิดของลำต้น
1.ลำต้นเหนือดิน
ลำต้นเหนือดิน เป็นต้นที่ปรากฏอยู่เหนือพื้นดินทั่วๆไปของต้นไม้ต่างๆ
ยังเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ได้ต่างกันดังนี้
- ลำต้นเลื้อยขนานไปกับผิวดินหรือผิวน้ำ (prostrate หรือ creeping stem) ส่วนใหญ่พืชพวกนี้มีลำต้นอ่อน
ตั้งตรงไม่ได้ จึงต้องเลื้อยขนานไปกับผิวดิน
- ลำต้นเลื้อยขึ้นสูง (climbing stem หรือ
climber) พืชพวกนี้มีลำต้นอ่อน
แต่ไต่ขึ้นสูงโดยขึ้นไปตามหลักหรือต้นไม้ที่อยู่ติดกัน
วิธีการไต่ขึ้นสูงนั้นมีอยู่หลายวิธี คือ
- ใช้ลำต้นพันหลักเป็นเกลียวขึ้นไป
(twining stemหรือ twinter) การพันอาจเวียนซ้ายหรือเวียนขวา
- ลำต้นเปลี่ยนเป็นมือเกาะ
(stem yendri หรือ tendrilcimber) มือจะบิดเกาะเป็นเกลียวคล้ายสปริงเพื่อให้มีการยืดหยุ่น
เมื่อลมพันผ่านมือจะยืดหดได้
- ใช้รากพัน (root
climber) เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นสูงโดยงอกรากออกมาบริเวณข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้อื่น
รากพืชเหล่านี้หากยึดกับต้นไม้จะไม่แทงรากเข้าไปในลำต้นของพืชที่เกาะ
ไม่เหมือนพวกกาฝาก
- ลำต้นเปลี่ยนเป็นหนาม (stem
spine) บางทีเรียกลำต้นชนิดนี้ว่าสแครมเบลอร์(scrambler)เพื่อใช้ในการไต่ ขึ้นที่สูงและยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายอีกด้วย
หนามเหล่านี้จะแตกออกมาจากบริเวณซอกใบ หนามบางชนิดเปลี่ยนแปลงมาจากใบ
หนามบางชนิดไม่ใช่ทั้งลำต้นและกิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแต่เปลี่ยนจากผิวนอกของลำต้นงอกออกมาเป็นหนามเช่น
หนามกุหลาบ
- ลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบ (cladophyll)
ลำต้นที่เปลี่ยนไปอาจแผ่ แบนคล้ายใบหรือเป็นเส้นเล็กยาวและยังมีสีเขียว
ที่มีสีเขียวต่อกันเป็นท่อนๆนั้นเป็นส่วนของลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนใบที่แท้จริงเป็นแผ่นเล็กๆติดอยู่รอบๆข้อ เรียกว่าใบเกล็ด
นอกจากนั้นยังมีลำต้นอวบน้ำเป็นลำต้นของพืชที่อยู่ในที่แห้งแล้งกันการน้ำ
จึงมีการสะสมน้ำไว้ในลำต้น
2. ลำต้นใต้ดิน
- แง่งหรือเหง้า (rhizome) สำต้นใต้ดินจะอยู่ขนานกับผิวดิน
เห็นข้อปล้องได้ชัดเจน ตามข้อมีใบสีน้ำตาลที่ไม่มีคลอโรฟีลล์
มีลักษณะเป็นเกล็ดเรียกว่าใบเกล็ด หุ้มตาเอาไว้มีรากงอกออกจากเหง้า
ตาอาจแตกแขนงเป็นใบอยู่เหนือดิน หรือเป็นลำต้นอยู่ใต้ดินก็ได้
- ทูเบอร์ (tuber) เป็นลำต้นใต้ดินที่งอกออกมาจากปลายไรโซม
มีปล้องเพียง3-4ปล้องตามข้อไมมีใบเกล็ดและรากสะสมอาหารเอาไว้มากในลำต้นส่วน
ใต้ดิน จึงดูอ้วนใหญ่ แต่บริเวณที่เป็นตาจะบุ๋มลงไป
- หัวกลีบ (bulb) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง
อาจมีส่วนพันดินบ้าง ลำต้นมีขนาดเล็กมีปล้องที่สั้นมาก
บริเวณปล้องมีใบเกล็ดที่ซ้อนกันหลายชั้นจนเห็นเป็นหัว อาหารสะสมอยู่ในใบเก็ด
ในลำต้นไม่มีอาหารสะสม บริเวณส่วนล่างของลำต้นมีรากเส้นเล็กๆ แตกออกมาหลายเส้น
- คอร์ม (corm) เป็นลักษณะของลำต้นที่ตั้งตรง
เก็บอาหารไว้ในลำต้นจึงมีลักษณะอวบใหญ่ ทางด้านล่างมีรากเส้นเล็กๆหลายๆเส้น
ที่ข้อมีใบเกล็ดบางๆหุ้ม ตาแตกออกมาจากข้อมีใบชูขึ้นสูงหรืออาจเป็นลำต้นใต้ดินต่อไป
ที่มา https://sites.google.com/site/flowerssbio/34
ที่มา https://sites.google.com/site/flowerssbio/34
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น